Skip to content

พลิกโฉม – แก้ไข “ให้ข้อมูลเดินทางแทนผู้ป่วย”

  • by

“คนดีชอบแก้ไข คนมีไฟชอบแก้งาน” เป็นคำคมบนกระดาษสีเหลืองที่ติดอยู่บนผนังห้องทำงานของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ กฤษณ์ ขวัญเงิน

ผู้อำนวยการศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะฯมหาวิทยาลัยเชียงใหม่…สะท้อนให้เห็นความพิเศษของคำว่า “แก้ไข” และ “แก้งาน” ในหน่วยงานนี้ อย่างมีนัยสำคัญ

การแก้ไขความพิการให้แก่เด็ก ๆ ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องของการศัลยกรรมตกแต่ง เพื่อความงาม แต่เป็นการแก้ไขเพื่อให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ด้วยความมั่นใจ และใช้ชีวิตอยู่ในสังคม ได้เช่นเดียวกับคนอื่น ๆ แต่ปัญหาสำคัญที่สุดประการหนึ่งในการรักษาโรคปากแหว่งเพดานโหว่คือ ทุกขั้นตอนของการรักษา ต้องใช้ทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์อย่างน้อย 4 – 5 สหสาขาวิชา ดังนั้นโรงพยาบาลจะต้องมีบุคลากรและระบบที่มีประสิทธิภาพ เพื่อดูแลผู้ป่วยตั้งแต่แรกเกิด – 20 ปี ด้วยเหตุนี้ ทำให้เกิดปัญหาตามมาในเรื่องความเชื่อมโยงของข้อมูลในแต่ละโรงพยาบาล รวมทั้งการติดตามผลการรักษาให้ครบกระบวนการ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และผู้ป่วยด้อยโอกาส

อ่านเพิ่มเติมทาง Chiang Mai University for Sustainable Development Goals (cmu.ac.th)