กิจกรรมการอบรมเครือข่ายความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่
8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน
(Patient care training for the collaborative networks in the 8 upper northern provinces)
หัวข้อการบรรยาย |
เอกสาร |
บันทึก |
---|---|---|
Session 1 รู้จักภาวะปากแหว่งและเพดานโหว่ และแนวทางการรักษาผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ โดย แพทย์หญิง จิรกานต์ เจริญวิชา ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ |
Watch | |
Session 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องรูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปาก ผู้ป่วยปากแหว่งและเพดานโหว่ ของหน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดเชียงใหม่ ่โดย ทันตแพทย์หญิง อัมพร เดชพิทักษ์ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับเครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพทพญ.วสุนธรี ขันธรรม และ ทพญ.ธณัชช์ปิยา สมสุข โรงพยาบาลนครพิงค์ ทพ.นรินทร์ ไชยประดิษฐ์ และทพญ.สริยาภรณ์ จันทร์ศรี โรงพยาบาลจอมทอง ทพญ.อุบลวรรณ เสริมชัยวงศ์ โรงพยาบาลฝาง ทพญ.กณิตนันท์ สุนันต๊ะ โรงพยาบาลสันป่าตอง ทพญ.นันทิยา เสถียรวุฒิวงศ์ โรงพยาบาลหางดง |
Watch | |
Session 3 เทคโนโลยีในการค้นหาติดตามและแนวทางการส่งต่อ ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ โดย ผศ.นพ กฤษณ์ ขวัญเงิน ผู้อำนวยการศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้า และกะโหลกศีรษะ |
Download | Watch |
Session 4 บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งและเพดานโหว่ โดย คุณพรพรรณ ดาศรี งานการพยาบาลผู้กุมารเวชศาสตร์ คุณนภาพร ติคำ งานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยศาสตร์ คุณพิชชาวรรณ เหล่าชัยเจริญผล งานการพยาบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยฉุกเฉิน |
Download | Watch |
Session 5 หลักเกณฑ์การจ่ายเงิน การบริหารจัดการงบประมาณ ในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ โดย คุณวลัยรัตน์ ไชยฟู รองผู้อำนวยการ สปสช เขต 1 เชียงใหม่ |
Download | Watch |
Session 6 แนวทางการเบิกค่าเดินทางโครงการยิ้มสวยเสียงใส โดย คุณวัชราภรณ์ สิทธิคำทับ พยาบาลศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ |
Download | Watch |
คำถาม |
คำตอบ |
---|---|
1.Q: หลังผ่าตัดงดดูด 3 สัปดาห์ ต้องให้อาหารทางสายยางใช่ไหมคะ |
A: หลีกเลี่ยงการใส่ OG กับ NG ซึ่งหลังผ่าตัด แนะนำให้กินอาหารผ่าน syringe ผ่านทางข้างแก้ม ถ้าในเด็กบางคนที่มีปัญหาไม่ทานอาหารผ่าน syringe ให้ใช้ขวดนมเฉพาะสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด หรือให้ป้อนผ่านแก้ว |
2. Q: กรณีเป็น cleft palate อย่างเดียว มีข้อพิจารณาในการใส่หรือไม่ใส่ เพดานเทียมไหมครับ |
A: จะพิจารณาจากความรุนแรงของ cleft palate เป็นหลัก ดูความสะดวกและพิจารณาร่วมกับการหายใจ หากคนไข้หายใจไม่สะดวกจะไม่สามารถใส่อุปกรณ์ได้ เช่น cleft soft จะไม่พิจารณาใส่ แต่หากผู้ป่วย cleft palate complete จะใส่เพดานเทียม |
3. Q: เรียนถาม สปสช ว่า Orthognathic surgery เบิกได้ไหมครับ |
A: ในระบบหลักประกันสุขภาพ การจ่ายเพิ่มเติม ถ้าเป็นผู้ป่วยในสามารถเบิกตามรหัส DRG |
4. Q: สอบถามครับอยากได้ตัวอย่างของการทำเรื่องเบิกกรณีทำ maxillary distraction ครับ |
A: ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม |
5. Q: การเบิกเพดานเทียมสามารถเบิกได้กี่ชิ้นในคนไข้ 1 รายครับ เพราะบางครั้งคนไข้บางคนอาจต้องมีการเปลี่ยน obturator เพื่อทำการรักษา |
A: สามารถเบิกได้ตามการใช้อุปกรณ์จริง |
6. Q: ขออนุญาตสอบถามเรื่องการเบิกจ่ายเพื่อการประเมินการสั่นพ้องของเสียงในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ที่มีราคาสูงโดยใช้เครื่องมือ ไม่ทราบว่า เบิกจ่ายเกินจากเพดาน 3850 ปี ได้หรือไม่ครับ |
A: ในระบบสปสช ที่กำหนดงบประมาณจะสามารถเบิกตามงบประมาณ หากต้องการเบิกจ่ายเพิ่มเติมต้องยื่นอุทธรณ์มายังทาง สปสช. โดยจะมีอนุกรรมการหลักประการสุขภาพ ดูแลเกี่ยวกับสิทธิการรักษา เพื่อพิจารณากรณีพิเศษโดยดำเนินการยื่นเอกสารเข้ามาในหน่วยงานเพื่อพิจารณาอนุมัติเพิ่มเติมจากวงเงินที่กำหนดไว้ ซึ่งขึ้นอยู่กับผลการพิจารณาอีกครั้ง |
7. Q: ขออนุญาตสอบถามว่า เด็กแรกเกิดเพดานโหว่ หมอเด็กบางท่านชอบให้ feed ทาง OG tube เพราะกลัวสำลัก แต่เพิ่งฟังวิทยากรว่าแนะนำให้ดูดจากนมแม่ แล้วจริงๆจำเป็นต้อง ให้ feed ทาง OG tube ในกรณีใด |
A: ในกรณีที่ทารกไม่ควรให้นมทาง oral จำเป็นต้องให้ทางสายยาง คือ ในทารกที่มีปัญหาหายใจลำบาก, สำลักบ่อย (แม้ว่าจัดท่าอ้อมให้นมถูกวิธีแล้ว) แต่ถ้ากินได้เองแต่มีปัญหาน้ำหนักไม่ขึ้น จะปรับการให้นม(เพิ่มปริมาณหรือแคลอรี่) |
8. Q: ในบางสถานพยาบาลที่ให้บริการแก้ไขการพูดเบื้องต้นโดยนักกิจกรรมบำบัด สามารถทำเรื่องเบิก ยสส.5 ให้ผู้ป่วยได้ไหม |
A: สามารถเบิกได้ โดยพิมพ์เบิกเงินจากระบบ DMIS และนำใบให้ญาติผู้ป่วยเพื่อเดินทางไปเบิกเงินสนับสนุนที่สภากาชาดไทยได้ |
9. Q: หากต้องการใช้ Thai Cleft Link ต้องติดต่อยังไงครับ |
A: สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ได้เลยค่ะhttps://www.thaicleftlink.org/register |
10. Q: ค่าเดินทางสำหรับค่าผ่าตัดกรณีผ่าตัดเพื่อปลูกกระดูกและผ่าตัดขากรรไกร สามารถเบิกค่าเดินทาง 1000 บาทได้ไหม |
A: สามารถเบิกค่าเดินทางสำหรับการเข้ารับผ่าตัดได้ ผ่านระบบDMIS |
11. Q: กรณีที่ใส่เครื่องมือปรับรูปจมูกหลังการผ่าตัดเย็บริมฝีปากแล้ว ไม่สามารถลงการบันทึกใน Dmis ได้ครับเพราะไม่มีหัวข้อให้เลือก รบกวนสอบถามว่าควรลงเป็นอะไรดีครับเพื่อให้ผู้ป่วยไปเบิกค่าเดินทางส่วนของ ยสส4 |
A: สามารถเบิกได้โดยการเบิกจ่าย หัวข้อทันตะกรรมอื่นๆ ที่จำเป็น โดยกรอกข้อมูลเพิ่มเติมระบุในหมายเหตุ |
12.Q: คนไข้ต่างด้าวสามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ |
A: แจ้งเป็น 2 กรณี 1. กรณีผู้ป่วยต่างด้าวที่ไม่มีสิทธิใดๆ สามารถเบิกเงินได้จากงบประมาณที่ศูนย์แก้ไขฯ ได้รับจากองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร โดยต้องยื่นเรื่องที่ศูนย์แก้ไขความพิการเพื่อเข้ารับการประเมินความเหมาะสมในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ 2.กรณีต่างด้าวซื้อสิทธิ 30 บาท โดยสามารถส่งข้อมูลให้ทางศูนย์แก้ไขดำเนินการในระบบ เพื่อทำเรื่องเบิกยังสภากาชาดไทยได้ |
13. Q: มีเอกสาร/ไฟล์ หรือ สไลด์ ความรู้ของวันนี้ ไว้ในทบทวนไหมคะ |
A: เอกสารสามารถดาวน์โหลดทางเว็บไซต์https://scfc.cmu.ac.th/pct/ โดยเอกสารบาง session ไม่มีสไลด์ประกอบเนื่องจากมีภาพผู้ป่วยขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่เอกสาร โดยผู้เข้าร่วมประชุมสามารถรับชมวีดีโอย้อนหลังได้ผ่านทางเว็บไซต์ศูนย์แก้ไขความพิการฯ |
ผู้เข้าร่วมประชุม
ขณะนี้ Onsite
จำนวน 63 คน
ขณะนี้ Online
จำนวน 151 คน
สถานที่
- ห้องประชุม 201 อาคารสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITSC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (จำกัดจำนวน 100 ท่าน)
- Online by Zoom Webinar (ไม่จำกัดจำนวน)
ผู้จัดการประชุม
ติดต่อสอบถาม
090-9845924 (มายด์)
scfc.opsp@gmail.com